ประเทศของคุณ :



ผู้นำสหภาพแรงงานถูกเลิกจ้างและถูกให้ชดใช้ค่าเสียหาย จากการ

In partnership with the International Transport Workers Federation, a global federation of 690 unions representing over 19.7 million transport workers in 153 countries .

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.)ได้รณรงค์ทั่วประเทศเรื่องความปลอดภัยหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟครั้งร้ายแรงในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 ที่สถานีเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์จนเป็นเหตุมีมีผู้เสียชีวิต 7 คนและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลการสอบสวนภายในที่การรถไฟตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเองรวมทั้งคำพิพากษาของศาลอาญา วิเคราะห์ว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดขึ้นจากความไม่สมบูรณ์ของหัวรถจักรที่ใช้ทำขบวน เป็นผลให้พนักงานขับรถต้องติดคุกและต้องออกจากงาน เพราะศาลอาญาเห็นว่านำรถจักรที่อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ออกไปทำขบวน ซึ่งต่อมาผู้เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ฟ้องต่อศาลแพ่ง และศาลก็มีคำพิพากษาให้พนักงานขับรถและการรถไฟฯจ่ายค่าเสียหายให้แก้ผู้ฟ้องเนื่องจากนำรถจักรที่ไม่สมบูรณ์ออกไปทำขบวนจนเกิดเหตุร้ายแรง แม้กระทั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็มีข้อสรุปไปในทิศทางเดียวกันว่าสภาพรถจักรที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ

ในส่วนของต่างประเทศ ITF (สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ) และITUC (สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล) ได้นำเรื่องร้องเรียนต่อ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)และผลการสรุปก็ออกมาในลักษณะที่เห็นว่าสภาพแรงงานรถไฟและผู้นำกระทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยเฉพาะในเรื่องรณรงค์เพื่อมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสหภาพแรงงาน และได้ส่งข้อสรุปและข้อแนะมายังรัฐบาลไทยเพื่อให้ยุติและคืนสิทธิให้แก่ผู้นำสหภาพแรงงาน จากผลที่สรุปออกมาชี้ให้เห็นถึงการกระทำของสหภาพแรงงานรถไฟและผู้นำสหภาพได้กระทำที่เป็นประโยชน์แก่การรถไฟฯเองรวมทั้งประชาชนที่ใช้บริการ

อย่างไรก็ตาม ทางการรถไฟฯได้เลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงานรถไฟฯ ที่หาดใหญ่ 6 คน ในปี 2552 และได้ทำการฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อเลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงานจำนวน 7 คนในส่วนกลาง ซึ่งถูกเลิกจ้างไปในปี 2554 พร้อมกับให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก จึงเป็นเหตุให้ขบวนการแรงงานในประเทศไทยและต่างประเทศรณรงค์เพื่อให้รัฐบาลไทยและการรถไฟยุติการดำเนินคดีต่อผู้นำสหภาพแรงงานฯรถไฟฯและให้รับทั้งหมดเข้าทำงานและให้คืนสิทธิประโยชน์ทั้งหมดในช่วงที่ถูกอกจากงานให้แก่ผู้นำสหภาพแรงงานรถไฟ ซึ่งต่อมาการรถไฟฯก็รับผู้นำสหภาพแรงงานรถไฟทั้งหมดกลับเข้าทำงานในปี 2557 และได้จ่ายเงินและสิทธิประโยชน์ช่วงที่ออกจากงานคืนให้แก่ผู้นำ 6 คนที่สาขาหาดใหญ่แต่ผู้นำส่วนกลาง 7 คนแม้จะได้กลับเข้าทำงานแต่ก็ยังไม่ได้รับคืนสอทธิประโยชน์ช่วงที่ออกจากงานโดยที่การรถไฟฯอ้างว่ามีค่าเสียหายที่ทั้ง 7 คนต้องจ่ายให้การรถไฟฯซึ่งต้องรอคำพิพากษาของศาลฎีกา

เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา ให้ทั้ง 7 คนจ่ายค่าเสียหายให้แก่การรถไฟฯเป็นเงินจำนวน 15,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันที่ฟ้องจนถึงวันที่ชำระเสร็จ ซึ่งปัจจุบันเป็นเงินรวมประมาณ 24 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมากและจำนวนเงินที่ต้องหักและชดใช้ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี ซึ่งต้องส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาซึ่งบางคนขณะนี้ได้เกษียณอายุแล้วและต้องเอาเงินยังชีพ(บำนาญ) หลังเกษียณมาชดใช้ค่าเสียหายทำให้เขาต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก




ข้อความของท่านจะถูกส่งไปยังอีเมล์ต่อไปนี้ :
spmwebsite@thaigov.go.th, webmaster@mol.mail.go.th, webmastermot@mot.go.th, webmaster.srt@railway.co.th, srutthailand@gmail.com, itfthaincc@gmail.com